Merry Christmas หรือ Merry X’mas แตกต่างกันไหม ใช้แบบไหนดี

10 เรื่องน่ารู้ “วันคริสต์มาส” ประวัติ-สัญลักษณ์-กิจกรรมสุดฮิต

“วันคริสต์มาสอีฟ” คืออะไร แตกต่างอย่างไรกับ “วันคริสต์มาส”

เข้าสู่ช่วงเทศกาลคริสต์มาส หลายคนคงคุ้นหูกับคำอวยพร “Merry Christmas” และในบางครั้งก็เห็นคำว่า "Merry X’mas" โผล่มาอีก ทำเอาสับสนไม่น้อย ว่าอันที่จริงแล้วต้องใช้คำไหนกันแน่ หรือจะใช้ได้ทั้งคู่?

ที่มาของคำว่า “Merry Christmas”

ก่อนอื่นเลยต้องมารู้จักกันก่อนว่า คำว่า “Merry Christmas” นี้เกิดขึ้นมาจากที่ไหน แล้วกลายมาเป็นวลีฮิตติดปากในช่วงเทศกาลคริสต์มาสได้อย่างไร

วันคริสต์มาส เป็นเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู ศาสดาแห่งคริสต์ศาสนา ซึ่งเชื่อกันว่าตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม ของทุกปี โดยแต่เดิมคำว่า “Christmas” มาจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษโบราณว่า "Christes Maesse" ที่แปลว่า พิธีมิสซาของพระคริสต์ ปรากฏครั้งแรกในเอกสารโบราณเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1038 ก่อนที่คำนี้จะแปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า “Christmas”

ส่วนคำว่า “Merry” ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ เมื่อนำมารวมกัน “Merry Christmas” จึงเป็นคำอวยพรหมายถึง ขอให้ได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส

แต่ก่อนที่คำโบราณนี้จะกลายมาเป็นวลีฮิตติดหูไปทั่วโลกจนถึงทุกวันนี้ ต้องย้อนความกลับไปราวช่วงทศวรรษที่ 1820 ความเข้มงวดของลัทธิต่าง ๆ ในสหราชอาณาจักรเริ่มเสื่อมถอย บรรดาศิลปินและนักเขียนทั้งหลายเริ่มกังวลว่าเทศกาลคริสต์มาสจะสูญสลายไป จึงได้พยายามหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูเทศกาลนี้

กระทั่งในปี ค.ศ.1843 ชาลส์ ดิกคินส์ (Charles John Huffam Dickens) นักประพันธ์ชาวอังกฤษได้ตีพิมพ์สุดยอดวรรณกรรมเรื่อง “A Christmas Carol” เป็นเรื่องราวของ เอเบเนเซอร์ สครูจ (Ebenezer Scrooge) นายธนาคารผู้เลือดเย็นและละโมบโลภมาก เขาไม่เคยคิดที่จะแบ่งปันสิ่งใดให้ใคร แม้แต่ในช่วงเทศกาลคริสมาสต์ จนกระทั่งเขาได้มาพบเจอเข้ากับเหตุการณ์อันน่าสะพรึงกลัวกลางดึกของคืน Christmas Eve ที่จะทำให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนไปตลอดกาล

ซึ่งภายหลัง “A Christmas Carol” ก็กลายเป็นวรรณกรรมที่ได้รับความนิยม และมีอิทธิพล ช่วยฟื้นฟูจิตวิญญาณแห่งคริสต์มาส ทำให้ผู้คนเห็นความสำคัญของครอบครัว ความปราถนาดี และความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน

นอกจากนี้ Charles Dickens ยังได้มีการหยิบยกคำศัพท์ภาษาอังกฤษโบราณอย่างคำว่า “Merry Christmas” ที่ใช้สำหรับการกล่าวอวยพรในช่วงเทศกาล และคำว่า “Bah! Humbug!” คำอุทานติดปากของตัวละครเอกในเรื่อง ที่ใช้ตอบโต้ผู้คนที่มาอวยพร ซึ่งมีความหมายในเชิง “เชอะ เหลวไหลสิ้นดี” มาใช้จนทำให้กลายเป็นวลีที่โด่งดังและถูกใช้กันต่อมาในปัจุบัน

“X’mas” คืออะไรคำพูดจาก เว็บสล็อตลิขสิ

“X'mas” เป็นคำย่อที่ใช้กันโดยทั่วไปของคำว่า “คริสต์มาส” โดยคำว่า “-mas” มาจากคำในภาษาอังกฤษโบราณ ซึ่งหมายถึง “มิสซา” พิธีศีลมหาสนิทของคริสตชน ตามข้อมูลข้างต้นนั่นเอง

ส่วนตัวอักษร “X” ใน X'mas มาจากตัวอักษรกรีก “ไค” (เท่ากับพยัญชนะ ch ในภาษาอังกฤษ) ซึ่งมีรูปร่างเหมือนตัว X และเป็นตัวอักษรตัวแรกของคำว่า Χριστός (อ่านว่า Christos) ซึ่งมีความหมายว่า “คริสต์”

แต่เดิมผู้คนจะใช้คำว่า “Christmas” กันมาตลอด แต่เพิ่งจะเริ่มมาใช้คำว่า “X'mas” แทนในภายหลัง ซึ่งจากหลักฐานปรากฎว่าการใช้ "X" เป็นคำย่อแทนคำว่า “Christ” นั้นปรากฎครั้งแรกไม่เกิน ค.ศ. 1100 และคำว่า “X'mas” ปรากฎขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1551 อย่างไรก็ตาม คนต่างชาติเองก็ไม่ชอบเขียนคำว่า “X'mas” แทน “Christmas” เท่าใดนัก บางคนถือว่าคำนี้เป็นภาษาที่ไม่มีระดับ หนังสือต่างประเทศบางเล่มถึงกับไม่ยอมใช้คำนี้เลยก็มี

เพราะคำว่า “X’mas” ถือว่าเป็นการเขียนที่ไม่ถูกต้องตามหลักภาษาเท่าไหร่นัก สำหรับชาวต่างชาติบางคนที่เคร่งครัดเรื่องการใช้ภาษาจริง ๆ อาจจะไม่ใช้คำนี้กัน แต่สำหรับวัยรุ่นแบบเราๆ นั้นอาจจะนิยมเขียนกันมากกว่า

 Merry Christmas หรือ Merry X’mas  แตกต่างกันไหม ใช้แบบไหนดี

สรุปว่า จะ “Merry Christmas” หรือ “Merry X’mas” ก็ได้ ถือว่าไม่มีผิดหรือถูกกับการใช้ แต่ถ้าจะใช้แบบเป็นทางการหน่อยก็ควรใช้คำว่า “Christmas” ดีกว่านั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก : เฟซบุ๊ก Mahidol University Kibrary และ เว็บไซต์ LONGDO

125 แคปชัน-คำอวยพร "วันคริสต์มาส2023" คนโสด คนมีคู่ อวดขึ้น Social

“10 คาเฟ่คริสต์มาส” ในกรุงเทพฯ บรรยากาศน่ารัก จนเลิกถ่ายรูปไม่ได้!

กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566

ประกาศฉบับที่ 14 เตือนอากาศหนาว-มีลมแรง 6 จังหวัดภาคใต้ฝนตกหนัก

ศาลรัฐธรรมนูญ นัดลงมติคดีพิธา-ก้าวไกลหาเสียงแก้ 112 ชี้ชะตา 31 ม.ค.67

You May Also Like

More From Author