ลูกหนี้เรื้อรังเตรียม! มาตรการแบงก์ชาติปิดหนี้จบ 4 ปี "เงินต้นพุ่ง" แม้ดอกเบี้ยลด

แบงก์ชาติ รับหนี้เสียเพิ่มขึ้นแน่ แต่ไม่พุ่งก้าวกระโดด

หนี้ครัวเรือนไทยพุ่ง เครดิต บูโร เปิดตัวเลขหนี้เสีย 9.8 แสนล้านบาท

เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 66 น.ส.ธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการศูนย์วิจัยกสิกรไทยกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ธปท.เตรียมจะออกมาตรการแก้หนี้ โดยเฉพาะกลุ่มหนี้เรื้อรัง คิดเป็นสัดส่วน 0.19-0.23% ของสินเชื่อรวมทำหมด ในระยะแรกประเมินว่าจะกระทบพอร์ตธนาคารพาณิชย์ไม่เกิน 2% ต่อกำไรสุทธิปี 66 หรือเทียบกับส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ราว 0.02-0.03%

โดยการแก้หนี้ดังกล่าว ลูกหนี้ต้องเตรียมพร้อมที่จะจ่ายหนี้เพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากการลดดอกเบี้ย จะทำให้ต้องผ่อนเงินต้นเพิ่มมากขึ้น เช่น หนี้จำนวน 69,000 บาท ถ้าลดดอกเบี้ยทุก 10% จะต้องจ่ายเงินต้นสูงขึ้น 25% จากยอดผ่อนเดิม หรือผ่อนเดือนละ 1,437 บาท

รายได้น้อย-เงินออมหด ปัญหาหลักจ่ายหนี้ไม่ตรงเวลา-ปิดจบไม่ได้

ล่าสุดจากผลสำรวจของ KResearch เรื่องหนี้สินครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่าสถานการณ์หนี้ยังไม่ดีขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องจากสัดส่วนหนี้สูงกว่าเงินออมในทุกระดับของเงินเดือน

กลุ่มที่เป็นหนี้ ไม่ว่าจะจนหรือจะรวย ภาระหนี้ต่อรายได้สูงกว่าเงินออมทั้งนั้น ไม่ใช่ไม่มีเงินออม บางครัวเรือนอาจจะมีเงินออม แต่ถัวเฉลี่ยแล้วมีหนี้มากกว่าออม น.ส.ธัญญลักษณ์ กล่าว

ทั้งนี้ส่วนกลุ่มคนที่เคยผ่อนหนี้ไม่ตรงเวลา หรือหยุดผ่อน จากผลสำรวจพบว่ายิ่งมีรายได้น้อย จะยิ่งมีโอกาสผ่อนไม่ตรงเวลามากขึ้น โดยสิ่งที่คนเป็นหนี้ต้องการจากสถาบันการเงิน คือ การช่วยเหลือปรับโครงสร้างหนี้

ส่วนสาเหตุที่ไม่สามารถปิดจบหนี้ได้ หรือ สาเหตุสามารถปิดจบหนี้ได้ พบว่าปัจจัยหลักเป็นเรื่องของรายได้ ซึ่งเป็นโจทย์รัฐบาลใหม่ว่าจะทำอย่างไร เศรษฐกิจจะเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพ ทั่วถึง และมีความต่อเนื่องในระดับที่มากพอจะทำให้มีรายได้ไปใช้จ่าย ท่ามกลางค่าครองชีพที่สูงขึ้น และมีเงินเหลือไปจ่ายหนี้ได้

แนะรัฐบาลใหม่ เร่งแก้หนี้ข้าราชการ-ดูแลกลุ่ม AMC

น.ส.ธัญญลักษณ์ กล่าวต่อว่า ประเทศไทยยังมีขนาดใหญ่ที่แก้ได้ยาก โดยคิดเป็นสัดส่วน 10% ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด หรือ 9.5% ต่อจีดีพี เช่น หนี้ครู 1.4 ล้านล้านบาท และหนี้ข้าราชการตำรวจ 2.7 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นปัญหาวาระแห่งชาติที่รัฐบาลใหม่ต้องเข้ามาแก้ไขเรื่องนี้ให้จบ เพราะเกี่ยวเนื่องกับหลายหน่วยงาน

นอกจากนี้ ยอดหนี้เสีย (NPL) ของสถาบันการเงินที่ผ่านมา แม้สูงไม่เกินระดับ 3% แต่ส่วนใหญ่เกิดจากการตัดจำหน่ายหนี้ไปให้ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ (AMC) ซึ่งพบว่าปัจจุบันมีหนี้คงค้างมากขึ้นถึงระดับแสนล้านบาท ทั้งมาจากหนี้ครัวเรือน และหนี้ธุรกิจ และมาตราการดูแลคนกลุ่มนี้ AMC มีน้อย และหากไม่ได้รับการดูแลจะทำให้คนกลุ่มนี้ถึงขั้นโดนฟ้องล้มละลาย

เศรษฐกิจในภาพที่ไม่นอนขึ้นเรื่อย ๆ การจัดการยังเป็นแบบเดิม มาตรการช่วยเหลือจำกัด คนกลุ่มนี้ก็จะใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เขายังอยู่กับระบบเศรษฐกิจ คนกลุ่มนี้ค่อนข้างจะลืมตาอ้าปากยากในระยะถัดไป อยากจะฝากโจทย์ไว้ให้รัฐบาลใหม่ ช่วยก้าวออกมาดูแลส่วนนี้เพิ่มเติมด้วย น.ส.ธัญญลักษณ์ กล่าว

"กสิกรไทย" ชี้หนี้ครัวเรือนไทยยังต่อเนื่อง มองปลายปีที่ 88.5-91.0%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปลายปี 66 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทย จะชะลอลงตัวลงที่ 88.5-91.0% แต่สถานการณ์ยังคงไม่ดีขึ้น เนื่องจากหนี้ครัวเรือนยังคงเติบโต คาดการณ์ปีนี้ 66 จะเพิ่มขึ้นราว 3-4%คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

โดยธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ประเมินว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทย ควรอยู่ต่ำกว่าระดับ 80% จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ในลักษณะที่ไม่สะดุด แต่ศูนย์วิจัยฯ มองว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทย อาจจะยังไม่สามารถลดถึงระดับ 80% ภายใน 5 ปีได้

ซึ่งการที่จะทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือน ลดระดับต่ำกว่า 80% ได้นั้น จะต้องควบคุมหนี้ครัวเรือนไม่ให้เติบโตเกิน 3% ต่อปี และต้องให้จีดีพีไทย เติบโตสูงกว่า 5.5% ซึ่งช่วงก่อนเกิดโควิด-19 จีดีพี เติบโตอยู่ที่ 5% จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายของรัฐบาลใหม่

 ลูกหนี้เรื้อรังเตรียม! มาตรการแบงก์ชาติปิดหนี้จบ 4 ปี  "เงินต้นพุ่ง" แม้ดอกเบี้ยลด

You May Also Like

More From Author