หนึ่งในผลกระทบที่สำคัญของปัญหาภาวะโลกร้อน คือการทำให้น้ำแข็งบริเวณแอนตาร์กติกาหรือขั้วโลกใต้ เกิดการละลายอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีการคาดการณืว่าระดับน้ำทะเลทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจนหลายเมืองอาจต้องจมบาดาลในอนาคตอันใกล้
อย่างไรก็ตาม มีข่าวร้ายที่ต้องรายงานให้ทราบกันคือ นอกจากระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังมีผลการวิจัยคาดการณ์ด้วยว่า การละลายของน้ำแข็งแอนตาร์กติกาจะยังทำให้ “กระแสน้ำลึกในมหาสมุทรหมุนเวียนช้าลงภายในปี 2050”
นักวิทย์พบ “หลุมดำมวลยิ่งยวด” แห่งใหม่ มีขนาดใหญ่สุดเท่าที่เคยพบ!
เมื่อ “หิมะ” ถูกแทนที่ด้วย “กระบองเพชร” โลกร้อนกระทบสวิสหนัก
นักวิทย์ฯ เผย อุณหภูมิกรีนแลนด์ร้อนสุดในรอบ 1,000 ปี
ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า น้ำแข็งแอนตาร์กติกาที่ละลายนั้นเป็นน้ำจืด และในตอนที่ละลายใช่ว่ามันจะละลายพรวดเดียวกลายเป็นน้ำ แต่จะค่อย ๆ ละลายในสถานะที่เป็นก้อนน้ำแข็ง จนแยกตัวออกมาจากแผ่นน้ำแข็งและจมลงน้ำไปคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ในกระบวนการปกติ น้ำแข็งแอนตาร์กติกจะจมลงสู่ชั้นที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรราว 4,000 เมตร จากนั้นจะเคลื่อนตัวไปทางเหนือ บรรทุกคาร์บอนและออกซิเจนในระดับที่สูงกว่าปกติไปด้วย
ขณะที่กระแสน้ำเคลื่อนตัวไปทางเหนือ กระแสน้ำจะมีความปั่นป่วน พัดเอาเศษซากสิ่งมีชีวิตที่เน่าเปื่อยอยู่บนพื้นมหาสมุทรซึ่งอุดมด้วยสารอาหารขึ้นมาผสมปนเปไปกับกระแสน้ำ
จากนั้นน้ำเย็นที่อุดมด้วยสารอาหารนี้จะเคลื่อนตัวขึ้นสู่ผิวน้ำในกระบวนการที่เรียกว่า “Upwelling” ซึ่งจะทำให้สารอาหารกระจายไปยังชั้นที่สูงขึ้นและผิวน้ำของมหาสมุทร เป็นแหล่งอาหารชั้นดีของสัตว์น้ำต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม การศึกษาล่าสุดซึ่งพิจารณาว่า “จะเกิดอะไรขึ้นในมหาสมุทรลึกรอบ ๆ ทวีปแอนตาร์กติกา หากมีการเพิ่มขึ้นของน้ำจืดที่เกิดจากการละลายของแผ่นน้ำแข็ง”
นักวิจัยพบว่า ขณะที่อุณหภูมิโลกอุ่นขึ้น น้ำแข็งที่ละลายเร็วเกินไป จะทำให้น้ำรอบแอนตาร์กติกา “จืด” เกินไป ทำให้ความเค็มของน้ำทะเลเจือจางลง หมายความว่าน้ำแข็งที่ละลายก็มีความหนาแน่นน้อยลงและไม่จมลงสู่ก้นทะเลอย่างมีประสิทธิภาพอย่างที่เคยเป็นมา
การวิจัยชี้ให้เห็นว่า หากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงดำเนินต่อไปในระดับปัจจุบัน กระแสน้ำในส่วนลึกที่สุดของมหาสมุทรอาจไหลช้าลงถึง 40% ในเวลาเพียง 3 ทศวรรษ และทำให้ “สัตว์ทะเลขาดสารอาหารจากแหล่งสารอาหารที่สำคัญ”
ศาสตราจารย์แมตต์ อิงแลนด์ จากศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า กระแสน้ำในมหาสมุทรลึกทั้งหมดกำลังมุ่งหน้าสู่การพังทลาย
“ในอดีต กระแสน้ำลึกเหล่านี้ต้องใช้เวลามากกว่า 1,000 ปีหรือมากกว่านั้นในการเปลี่ยนแปลงสักครั้ง แต่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นภายในไม่กี่ทศวรรษ เร็วกว่าที่เราคิดไว้” อิงแลนด์กล่าว
ด้าน ดร. เฉียน หลี่ ปัจจุบันอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หัวหน้าทีมวิจัยนี้ กล่าวว่า การศึกษาไม่ได้พยายามอธิบายหรือหาปริมาณของผลกระทบที่เกิดขึ้น แต่การชะลอตัวของกระแสน้ำนี้จะ “เปลี่ยนแปลงความร้อน น้ำจืด ออกซิเจน คาร์บอน และสารอาหารในมหาสมุทรอย่างลึกซึ้ง โดยส่งผลกระทบต่อมหาสมุทรทั่วโลกเป็นเวลาหลายศตวรรษจากนี้”
อิงแลนด์เสริมว่า กระแสน้ำในมหาสมุทรลึกมีอิทธิพลต่อสภาพอากาศทั่วโลก การชะลอตัวของกระแสน้ำในมหาสมุทรลึกจะทำให้น้ำลึกเหล่านั้นมีอุณหภูมิร้อนขึ้นด้วย ซึ่งเมื่อเป็นอย่างนั้น ก็จะยิ่งทำให้พื้นผิวมหาสมุทรรอบ ๆ ทวีปแอนตาร์กติการ้อนขึ้น เกิดเป็นวงจรที่ทำให้เกิดความร้อนมากขึ้น และแผ่นน้ำแข็งก็จะยิ่งละลายเร็วมากขึ้นเรื่อย ๆ
อิงแลนด์กล่าวว่า น้ำลึกที่อุ่นเร็วที่สุดในการศึกษานี้อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน แต่น่าห่วงเป็นพิเศษตรงด้านตะวันตกของทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งแผ่นน้ำแข็งมีความเสี่ยงและกำลังละลายอยู่แล้ว
“เราไม่ต้องการสร้างกลไกที่จะเสริมการละลายในพื้นที่เหล่านั้น” เขากล่าว พร้อมเสริมว่า การชะลอตัวของกระแสน้ำลึกมีผลทำให้มหาสมุทรลึกชะงัก ทำให้ขาดออกซิเจน
เมื่อสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรตายลง ซากของพวกมันจะไปเพิ่มสารอาหารให้กับน้ำในมหาสมุทรที่จมลงสู่ก้นทะเลและหมุนเวียนไปทั่วมหาสมุทรของโลก สารอาหารเหล่านี้จะถูกส่งกลับไปยังบนพื้นผิวมหาสมุทร เป็นอาหารของแพลงก์ตอน ซึ่งเป็นรากฐานของห่วงโซ่อาหารในทะเลอีกที
ดร. สตีฟ รินทูล นักสมุทรศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับมหาสมุทรใต้จากองค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมเครือจักรภพของรัฐบาลออสเตรเลีย กล่าวว่า เมื่อกระแสน้ำลึกของมหาสมุทรไหลเวียนช้าลง สารอาหารจะถูกส่งกลับไปยังชั้นบนของมหาสมุทรน้อยลง ซึ่งส่งผลต่อการเกิดแพลงก์ตอน
เขากล่าวว่า “เมื่อการหมุนเวียนช้าลง เราจะสามารถฟื้นสถานการณ์กลับมาได้อีกครั้งโดยการไม่ปล่อยให้น้ำแข็งรอบแอนตาร์กติกาละลายอีกต่อไป”
เรียบเรียงจาก The Guardian
ภาพจาก AFP